โพรไบโอติกส์ จุลินทรีย์ดีตัวช่วยระบบทางเดินอาหารและลำไส้ที่ทุกคนให้การยอมรับ

โพรไบโอติกส์ จุลินทรีย์ดีตัวช่วยระบบทางเดินอาหารและลำไส้ที่ทุกคนให้การยอมรับ

สุขภาพระบบทางเดินอาหารมีความสำคัญต่อสุขภาพร่างกายของเราอย่างมาก ถ้าระบบทางเดินอาหารแข็งแรง ก็จะสามารถช่วยป้องกันเราจากอาการอักเสบและโรคร้ายต่างๆได้ แล้วเราควรดูแลระบบทางเดินอาหารยังไง? บทความนี้มีคำตอบ

โพรไบโอติกส์แบคทีเรียที่ดีต่อร่างกาย

โพรไบโอติกส์ (Probiotics) คือกลุ่มแบคทีเรียหรือยีสต์ที่อยู่ในระบบทางเดินอาหาร และระบบอื่นๆ ของร่างกาย ที่เมื่อมีอยู่ในประมาณที่เหมาะสมจะช่วยในการทำงานของระบบทางเดินอาหารและระบบอื่นๆ ของร่างกายเนื่องจากจุลินทรีย์ที่เป็นมิตรเหล่านี้มีส่วนช่วยในการดูดซึมสารอาหาร การป้องกันโรค และการรักษาภาวะที่ผิดปกติของร่างกาย

ประเภทของโพรไบโอติกส์

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญแบ่งประเภทของโพรไบโอติกส์ออกเป็น 3 ลักษณะ

1.  แล็กโทบาซิลลัส  (Lactobacillus)

 เป็นแบคทีเรียจุลินทรีย์ชนิดดีในกลุ่มของโพรไบโอติกส์ที่พบได้มากที่สุด สามารถพบได้ในอาหารธรรมชาติ เช่น โยเกิร์ต นมเปรี้ยว อาหารหมักดองบางชนิด ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อระบบขับถ่าย และเหมาะกับผู้ที่มีปัญหาไม่สามารถย่อยแลคโตสในนมได้

2.  บิฟิโดแบคทีเรียม (Bifidobacterium) 

 หนึ่งในจุลินทรีย์โพรไบโอติกส์ที่ได้รับการยอมรับว่าดีที่สุด พบได้ในอาหารที่ทำมาจากนม ช่วยในการบรรเทาอาการลำไส้แปรปรวน และมีการศึกษาในหลายชนิดว่ามีประโยชน์ต่อร่างกายที่แตกต่างกันออกไป เช่น ช่วยผลิตสารตั้งต้นของภูมิต้านทานในร่างกายได้  

3.  บาซิลลัส (Bacillus)

 เป็นตัวโพรไบโอติกหรือจุลินทรีย์เชื้อดี พบได้ในอาหารจำพวกของหมักดอง เช่น ถั่วเน่า หรือ นัตโตะ มีส่วนในการปรับสมดุลร่างกาย และช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันให้ดียิ่งขึ้น

โพรไบโอติกส์ทำงานอย่างไร? 

งานหลักของโพรไบโอติกส์ คือการรักษาสมดุลในร่างกาย สมมุติว่าร่างกายได้รับแบคทีเรียที่ไม่ดีเข้ามาและเพิ่มจำนวนมากขึ้นก็จะทำให้ร่างกายของเราเสียสมดุล จึงเป็นหน้าที่ของโพรไบโอติกส์ ที่จะต่อสู้กับแบคทีเรียที่ไม่ดีและคืนสมดุลภายในร่างกายของคุณ  

โพรไบโอติกส์อยู่ในอาหารอะไรบ้าง?

เราสามารถเพิ่มโพรไบโอติกส์ที่มีประโยชน์ในร่างกายได้อย่างแน่นอนจากอาหารที่เรากิน โดยเราสามารถกินอาหารเหล่านี้ได้ทุกวัน เพื่อที่จะได้รับโพรไบโอติกส์อย่างเพียงพอ 

– โยเกิร์ต

– ขนมปัง Sourdough

– ของหมักดอง

– กิมจิ

– ซุปมิโสะ

แต่ก็ต้องอย่าลืมเช็คให้แน่ใจว่าแต่ละมื้ออาหารที่เรากินมีสารอาหารอย่างอื่นครบถ้วนด้วย ไม่อย่างนั้นร่างกายก็จะเสียสมดุลได้เช่นกัน 

ประโยชน์ของโพรไบโอติกส์

1.  ป้องกัน และบรรเทาอาการท้องเสีย

อาการท้องเสีย เป็นความทรมานของร่างกายที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย ซึ่งพบได้บ่อยในเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีปัญหาเรื่องระบบทางเดินอาหาร (ท้องเสียเรื้อรัง) ในต่างประเทศมีการวิจัยวิธีแก้ปัญหานี้โดยแพทย์ได้นำเอาโพรไบโอติกส์ (Probiotic) ในกลุ่มแล็กโทบาซิลลัส (Lactobacillus) มาใช้ป้องกันภาวะท้องเสียในเด็กขาดอาหาร โดยเฉพาะเด็กที่ไม่ได้รับการเลี้ยงดูด้วยนมแม่ ซึ่งผลลัพธ์พบว่าสามารถป้องกันได้ และยังลดระยะเวลา รวมถึงความรุนแรงของอาการท้องเสียที่เกิดจากภาวะอาหารเป็นพิษ และได้ผลดีมากในกลุ่มที่เกิดอาการท้องเสียจากเชื้อไวรัสโรต้า (Rotavirus)

2.  แก้ปัญหาท้องผูก และรักษาโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง

โพรไบโอติกส์ กลุ่มแล็กโทบาซัลลัส สามารถช่วยลดภาวะอักเสบของลำไส้ โดยการปรับสภาพของระบบทางเดินอาหารและลำไส้ให้กลับมาสู่ภาวะปกติทำให้เยื่อบุลำไส้หลั่งสารพิษออกมาน้อยลง นอกนี้ยังช่วยปรับลดปริมาณจุลชีพในลำไส้ ซึ่งเป็นสาเหตุการอักเสบทำให้ช่วยลดการอักเสบได้เป็นอย่างดี และสามารถลดการอักเสบซ้ำได้โดยการใช้แล็กโทบาซิลลัสและบิฟิโดแบคทีเรียม

3.  เพิ่มภูมิคุ้มกันของร่างกายและรักษาโรคภูมิแพ้

การที่เด็กมีโพรไบโอติกส์ (Probiotics) ในลำไส้อย่างเพียงพอ จะช่วยให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันต่อการติดเชื้อได้ดี โดยเฉพาะป้องกันภาวะท้องเสียหรือการติดเชื้อในช่องท้อง นอกจากนี้สามารถลดการติดเชื้อในส่วนอื่นๆ ของร่างกายได้ เช่น ปอด โดยการเพิ่มภูมิคุ้มกันทั้งในลำไส้และในกระแสเลือด และลดการติดเชื้อแบคทีเรียได้หลายชนิด 

สำหรับเด็กที่มีอาการภูมิแพ้ หรือมีน้ำมูก ผื่นคัน หอบหืด จนกลายเป็นโรคเรื้อรัง พบได้มากพอสมควร หลายรายมีอาการรุนแรงจนต้องใช้วิธีรักษาจำเพาะหลายรูปแบบ การให้โพรไบโอติกส์เป็นหนึ่งในวิธีที่จะช่วยปรับสภาพภูมิคุ้มกันในร่างกายช่วยลดการอักเสบและทำให้ปัญหาภูมิแพ้ลดลง ซึ่งมีการใช้ทั้งแล็กโทบาซิลลัส และบิฟิโดแบคทีเรียม

4.  ป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่       

แบคทีเรียที่อยู่ในลำไส้ใหญ่ มีส่วนของการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ โดยการสร้างสารก่อมะเร็งหรือเป็นตัวร่วมในการก่อมะเร็ง โดยเฉพาะผู้ที่ชอบรับประทานอาหารประเภทไขมันและเนื้อสัตว์จำนวนมาก จะยิ่งทำให้เป็นการเพิ่มสารในกลุ่มไนโตรเจนและอะโรมาติคเอมีนที่เป็นสาเหตุของมะเร็งลำไส้ใหญ่มากขึ้น แต่ถ้ามีโปรไบโอติกที่ดีในลำไส้เพียงพอก็จะสามารถช่วยเปลี่ยนสภาพแบคทีเรียในลำไส้ ป้องกันไม่ให้เกิดสารพิษเหล่านี้ได้            

5.  ช่วยบรรเทาอาการท้องผูก

‘ท้องผูก’ ปัญหาสุขภาพระบบทางเดินอาหารที่นับวันคนไทยจะเป็นมากขึ้น มีการศึกษาเก็บสถิติพบว่า 24% ของคนไทยคิดว่าตัวเองมีปัญหาท้องผูก และมี 8% ที่พบปัญหาในการเบ่งอุจจาระลำบาก และอีก 3% มีปัญหาถ่ายอุจจาระได้น้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์  ฉะนั้นการได้รับโพรไบโอติกส์ อย่างเพียงพอสามารถช่วยลดอาการท้องผูกได้

 6 . ช่วยส่งเสริมการรักษาโรคกระเพาะ

โรคกระเพาะอาหารและกรดไหลย้อน เป็นกลุ่มอาการในทางเดินอาหารและกระเพาะอาหารที่พบได้บ่อย และต้องรักษาร่วมกัน ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบทางเดินอาหารแนะนำว่า การใช้พรีไบโอติกส์และโพรไบโอติกส์ร่วมกัน สามารถให้ผลทั้งในแง่ของการป้องกัน และรักษาโรคในทางเดินอาหารได้

สรุป

โพรไบโอติกส์ ทำจากแบคทีเรียที่มีชีวิตดีและ/หรือยีสต์ที่อาศัยอยู่ตามธรรมชาติในร่างกายของคุณ ซึ่งหากคุณมีมีแบคทีเรียทั้งดีและไม่ดีอยู่ในร่างกายตลอดเวลา ทำให้เมื่อคุณติดเชื้อ มีแบคทีเรียที่ไม่ดีมากขึ้น ระบบร่างกายของคุณจะเสียสมดุล โดยแบคทีเรียที่ดีช่วยกำจัดแบคทีเรียที่ไม่ดีส่วนเกินออกไป และคืนความสมดุลให้กลับมาในร่างกายอีกครั้ง

ซึ่งสำหรับระบบทางเดินอาหารและลำไส้ของคนไทยส่วนใหญ่นั่นชอบทานอาหารที่มีรสจัด จึงควรมองหาโพรไบโอติกส์สายพันธุ์ไทยที่ออกแบบมาให้เหมาะกับคนไทยโดยเฉพาะอย่าง Innobic Probiotics GD (อินโนบิก โพรไบโอติกส์ จีดี) ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีจุลินทรีย์ดีอย่างโพรไบโอติกส์สายพันธุ์ไทย ที่มีส่วนช่วยในการรักษาสมดุลให้กับร่างกายของคนไทยได้อย่างดี

ขอขอบคุณข้อมูลจาก: 

https://my.clevelandclinic.org/health/articles/14598-probiotics 

https://www.webmd.com/digestive-disorders/what-are-probiotics 

https://www.everydayhealth.com/probiotics/guide/ 

https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK7699/ 

https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6747149/ 

– Krammer H.-J., von Seggern H., Schaumburg J., Neumer F. Effect of Lactobacillus casei Shirota on colonic transit time in patients with chronic constipation. Coloproctology. 2011;33:109–113. doi: 10.1007/s00053-011-0177-0.

– Koutnikova H., Genser B., Monteiro-Sepulveda M., Faurie J.M., Rizkalla S., Schrezenmeir J., Clément K. Impact of bacterial probiotics on obesity, diabetes and non-alcoholic fatty liver disease related variables: A systematic review and meta-analysis of randomised controlled trials. BMJ Open. 2019;9:e017995. doi: 10.1136/bmjopen-2017-017995.

– Stanczak M., Heuberger R. Assessment of the Knowledge and Beliefs Regarding Probiotic Use. Am. J. Health Educ. 2009;40:207–211. doi: 10.1080/19325037.2009.10599095.

– Betz M., Uzueta A., Rasmussen H., Gregoire M., Vanderwall C., Witowich G. Knowledge, use and perceptions of probiotics and prebiotics in hospitalized patients. Nutr. Diet. 2015;72:261–266. doi: 10.1111/1747-0080.12177.

– Manipal S., Kota A., Adusummili P., Satisch K., Prabu D. Awareness about probiotics in dental, medical professionals and health care providers. Unique J. Med. Dent. Sci. 2013;1:36–40.

Share :

Share :

บทความที่คุณอาจสนใจ

รู้หรือไม่? ไขมันในเลือดสูง ต้องคุมอาหารแบบไหน?

ปัจจุบันคนไทยหันมาใส่ใจสุขภาพกันมากขึ้น หลายคนพยายามเลี่ยงอาหารจังก์ฟู้ดที่มีไขมันสูง  ซึ่งหากรับประทานบ่อยๆ จะทำให้มี  “คอเลสเตอรอลในเลือดสูง” ตามมา

Read More »
วัยเก๋าต้องระวัง! ความเสี่ยงของการเป็นโรคอัลไซเมอร์ มีอาการแบบไหนบ้าง?

หากผู้สูงอายุที่บ้านของคุณ มีพฤติกรรมและอารมณ์ที่เปลี่ยนไป มีอาการหลงลืม สับสนเรื่องเวลา สถานที่ ไม่สามารถรับรู้หรือเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ

Read More »
มาดูกันว่า ไขมันดี (HDL) กับ ไขมันเลว (LDL) ต่างกันยังไง?

หลายคนอาจสับสนว่า คอเลสเตอรอล ที่เราคุ้นเคย เป็นไขมันประเภทไหน? แล้วไขมันชนิดดี (HDL)

Read More »