ไขมันในเลือดสูง ต้องคุมอาหารแบบไหน?

รู้หรือไม่? ไขมันในเลือดสูง ต้องคุมอาหารแบบไหน?

ปัจจุบันคนไทยหันมาใส่ใจสุขภาพกันมากขึ้น หลายคนพยายามเลี่ยงอาหารจังก์ฟู้ดที่มีไขมันสูง  ซึ่งหากรับประทานบ่อยๆ จะทำให้มี  “คอเลสเตอรอลในเลือดสูง” ตามมา และอาจเป็นบ่อเกิดของโรคต่างๆ โดยเฉพาะโรคที่เกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจและหลอดเลือดสมอง

ภาวะไขมันในเลือดสูง คืออะไร?

คือ ภาวะที่ร่างกายมีระดับไขมันในเลือดสูงกว่าเกณฑ์ปกติ โดยอาจมีความผิดปกติทั้งไขมัน “คอเลสเตอรอล” และ “ไตรกลีเซอไรด์” ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด เส้นเลือดตีบ อุดตัน โรคหลอดเลือดสมอง หรือเลือดไหลเวียนไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ได้ไม่มีดีพอ รวมถึงความดันโลหิตสูงได้

ชนิดของไขมันในเลือด

1.คอเลสเตอรอล  (Cholesterol)

เป็นไขมันชนิดหนึ่งที่ร่างกายสามารถสังเคราะห์ได้เองจากตับและลำไส้ พบมากในไขมันจากสัตว์ คอเลสเตอรอลเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของเซลล์ต่างๆ ในร่างกาย แต่หากมีมากเกินไปก็ส่งผลเสียได้เช่นกัน โดยคอเลสเตอรอลที่สำคัญ มีอยู่ 2 ชนิด

อ่านต่อได้ที่บทความ ไขมันดี (HDL) กับ ไขมันเลว (LDL) ต่างกันยังไง? 

2.ไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride)

เป็นไขมันชนิดหนึ่ง เกิดจากน้ำตาลและแป้ง หรือจากอาหารอื่นๆ ที่ช่วยทำให้รู้สึกอิ่มท้องนาน  ร่างกายจะเก็บสะสมไตรกลีเซอร์ไรด์ไว้เป็นพลังงาน แต่หากมีไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือดสูง โอกาสเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบก็มีมากขึ้น ไตรกลีเซอร์ไรด์ในระดับปกติ ไม่ควรเกิน 150 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร

ปัจจัยเสี่ยง ไขมันในเลือดสูง

1. ความผิดปกติทางกรรมพันธุ์ ทำให้ร่างกายเผาผลาญทำลายไขมันลดลง

2. การใช้ยาบางชนิด หรือโรคบางอย่าง เช่น ยาขับปัสสาวะ ยาคุมกำเนิด โรคเบาหวาน โรคต่อมไทรอยด์ทำงานได้น้อย โรคไต เป็นต้น

3. การรับประทานอาหารที่ผิดหลักโภชนาการ

  • การรับประทานอาหารที่มีไขมันมาก เช่น กะทิ เนื้อสัตว์ที่มีไขมันมาก อาหารทอดที่อมน้ำมัน
  • รับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบของน้ำตาลปริมาณสูง
  • รับประทานอาหารเกินความจำเป็นของร่างกายใน 1 วัน

4. การดื่มเหล้าหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ในปริมาณมากและเป็นประจำ

กินอย่างไร ห่างไกลไขมันในเลือดสูง

อาหารเหล่านี้ มีส่วนช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลและช่วยให้สุขภาพดีขึ้นได้

รู้หรือไม่? ไขมันในเลือดสูง ต้องคุมอาหารแบบไหน?

กระเทียม 

เป็นอาหารลดไขมันชั้นเยี่ยม มีฤทธิ์ยับยั้งกระบวนการสร้างคอเลสเตอรอลในร่างกาย ลดระดับไขมันในเส้นเลือด และช่วยลดความดันโลหิต

พริกไทยดำ 

ลดการซึมผ่านของคอเลสเตอรอลจากลำไส้เล็กเข้าสู่กระแสเลือด และช่วยกระตุ้นการหลั่งของน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร ซึ่งเป็นการช่วยเผาผลาญไขมันไปในตัว

อัลมอนด์ 

ช่วยลดคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี หรือ LDL-Cholesterol และป้องกันไม่ให้ไขมันไม่ดี หรือไตรกลีเซอไรด์ถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจได้

ถั่วเหลือง 

ในเมล็ดถั่วเหลืองมีกรดไขมันไม่อิ่มตัว ซึ่งจะช่วยลดคอเลสเตอรอลในร่างกาย ช่วยลดโอกาสของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด สามารถหาทานได้ง่ายๆ เช่น น้ำเต้าหู้

ชา 

ควรเลือกดื่มชาขาว เพราะมีสรรพคุณเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ อีกทั้งยังเป็นอาหารลดไขมันชั้นดีอีกด้วย

อะโวคาโด 

อุดมไปด้วยไขมันชนิดที่ดีต่อร่างกาย ช่วยเพิ่มระดับคอเลสเตอรอลชนิดที่ดีในร่างกาย และทำให้ไขมันชนิดที่ไม่ดีอย่างคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ในเลือดลดลง

วิธีรักษาไขมันในเลือดสูง เริ่มจากการปรับพฤติกรรม

หลักการรักษาภาวะไขมันในเลือดสูง จะคำนึงถึงการลดปัจจัยเสี่ยงที่มี ควบคู่กับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม อันส่งผลให้เกิดโรคต่างๆ ตามมา

รู้หรือไม่? ไขมันในเลือดสูง ต้องคุมอาหารแบบไหน?

– หลีกเลี่ยงอาหารและเครื่องดื่มที่มีคอเลสเตอรอล ไขมันอิ่มตัวสูง และมีน้ำตาลสูง เช่น ของทอด เนื้อสัตว์ติดมัน เนย เค้ก เครื่องในสัตว์

– เน้นการบริโภคอาหารประเภท ผัก ผลไม้ ธัญพืช และแหล่งโปรตีนที่ดีต่อสุขภาพ จำพวกผลิตภัณฑ์จากนมไขมันต่ำ เนื้อสัตว์ปีกไขมันต่ำ (ไม่กินหนัง) ปลา และถั่ว

– ผู้ที่มีน้ำหนักเกิน ควรควบคุมอาหารและออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอให้ได้อย่างน้อย 3-4 ครั้ง/สัปดาห์ แต่ละครั้งประมาณ 40 นาทีขึ้นไป

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการรับประทานอาหาร สามารถช่วยป้องกันภาวะไขมันในเลือดสูงได้ โดยหากพบว่าตนเองอยู่ในภาวะไขมันในเลือดสูง ควรลดบริโภคอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง ลดอาหารที่มีปริมาณไขมันสูง หลีกเลี่ยงการใช้น้ำมันหมู น้ำมันมะพร้าว โดยเน้นการปรุงอาหารที่ใช้วิธี นึ่ง ต้ม อบ ย่าง แทนการทอดหรือการใช้น้ำมันผัด และงดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เช่น เหล้า เบียร์ เป็นต้น

ภาวะไขมันเลือดสูง ป้องกันอย่างไร?

เราสามารถป้องกันการเกิดภาวะไขมันในเลือดสูงได้ ด้วยการควบคุมการรับประทานอาหาร ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ และเข้ารับการตรวจสุขภาพประจำปี อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อช่วยป้องกันการเกิดความเสี่ยงของการเกิดโรค อีกทั้งยังช่วยรักษาภาวะแทรกซ้อนจากโรคต่างๆ ได้อย่างทันท่วงที 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก: 

https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/21656-hyperlipidemia

https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK559182/

https://www.healthline.com/hyperlipidemia

https://www.healthline.com/health/hyperlipidemia

Share :

Share :

บทความที่คุณอาจสนใจ

รู้หรือไม่? ไขมันในเลือดสูง ต้องคุมอาหารแบบไหน?

ปัจจุบันคนไทยหันมาใส่ใจสุขภาพกันมากขึ้น หลายคนพยายามเลี่ยงอาหารจังก์ฟู้ดที่มีไขมันสูง  ซึ่งหากรับประทานบ่อยๆ จะทำให้มี  “คอเลสเตอรอลในเลือดสูง” ตามมา

Read More »
วัยเก๋าต้องระวัง! ความเสี่ยงของการเป็นโรคอัลไซเมอร์ มีอาการแบบไหนบ้าง?

หากผู้สูงอายุที่บ้านของคุณ มีพฤติกรรมและอารมณ์ที่เปลี่ยนไป มีอาการหลงลืม สับสนเรื่องเวลา สถานที่ ไม่สามารถรับรู้หรือเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ

Read More »
มาดูกันว่า ไขมันดี (HDL) กับ ไขมันเลว (LDL) ต่างกันยังไง?

หลายคนอาจสับสนว่า คอเลสเตอรอล ที่เราคุ้นเคย เป็นไขมันประเภทไหน? แล้วไขมันชนิดดี (HDL)

Read More »