มนุษย์ออฟฟิศวัย 30+ ต้องรู้ โรคที่เสี่ยงต่อสุขภาพในอนาคต!

มนุษย์ออฟฟิศวัย 30+ ต้องรู้ โรคที่เสี่ยงต่อสุขภาพในอนาคต!

หากคุณเป็นคนวัย 30 ปีขึ้นไปที่ทำงานในออฟฟิศตลอดวัน อาจมีความเสี่ยงที่จะทำให้ดูแลสุขภาพของตัวเองไม่ดีพอ อย่างไรก็ตาม การรู้จักและเข้าใจเรื่องของโรคที่เสี่ยงต่อสุขภาพในอนาคตสามารถช่วยให้คุณเตรียมตัวและดูแลสุขภาพของตัวเองอย่างเหมาะสมขึ้น ดังนั้นในบทความนี้ เราจะพูดถึงบางโรคที่เสี่ยงต่อคุณในอนาคตและวิธีดูแลสุขภาพของคุณเองได้อย่างดีที่สุด

ความเสี่ยงด้านสุขภาพที่คนวัย 30+ ควรระวัง

ในช่วงอายุที่มากกว่า 30 มักจะต้องมีหน้าที่การงานที่ยุ่งวุ่นวายและครอบครัวที่กำลังเติบโต ทำให้หลายๆ คนในวัยนี้ไม่ค่อยมีเวลาตัวเอง และหากใช้ชีวิตในวัย 20 ปีด้วยการไปพบแพทย์เพียงไม่กี่ครั้งและไม่ได้ใส่ใจเกี่ยวกับอาหารการกิน จึงอาจมีความเสี่ยงในด้านสุขภาพเหล่านี้ได้

ปวดตา

เนื่องจากการทำงานในปัจจุบันต้องทำงานหน้าโต๊ะ จ้องหน้าจอทั้งวัน ทำให้คนส่วนใหญ่เกิดอาการปวดตา โดยอาการปวดตามักเกี่ยวข้องกับอาการตาแห้ง และรู้สึกเจ็บตาเมื่อต้องจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน

  • การป้องกัน

วิธีแก้อาการปวดตา เมื่อใช้งานคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ ให้เพิ่มขนาดตัวอักษรเพื่อที่จะได้ไม่ต้องหรี่ตา จัดโต๊ะให้มีแสงสว่างที่เหมาะสม และควรพักสายตาบ่อยๆ เพื่อลดอาการปวดตา 

ปวดหลังส่วนล่าง

การนั่งเก้าอี้ด้วยท่าที่ไม่ถูกต้องเป็นเวลานานๆ อย่างการนั่งงอตัวโดยที่ไม่รู้ตัว ทำให้สร้างแรงกดไปที่บริเวณสะโพกและหลังอย่างมาก ส่งผลให้เกิดอาการปวดหลังส่วนล่าง

  • การป้องกัน

อย่างแรกคือการปรับท่านั่งของตัวเองให้ถูกโดยการนั่งให้เต็มก้นและนั่งหลังตรง ซึ่งสิ่งสำคัญต่อมาคือการลุกยืนบ่อยๆ  เพื่อเพิ่มการไหลเวียนของเลือดและบริหารกล้ามเนื้อตั้งแต่เท้าถึงลำตัว

โรคอ้วน

ปัญหาสุขภาพที่เห็นได้ชัดอีกโรคหนึ่งคือ “โรคอ้วน” โดยสาเหตุของโรคอ้วน ในที่ทำงานเกิดจากปัญหาการกินที่ไม่ดี การขาดการออกกำลังกาย ความเครียด หรือการใช้ชีวิตแบบนั่งนิ่งๆ เป็นต้น

  • การป้องกัน

รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย โดยเชี่ยวชาญด้านสุขภาพกล่าวว่าวิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันไม่ให้รอบเอวของคุณขยายใหญ่ขึ้นคือการรับประทานอาหารมื้อเล็กๆ ให้บ่อยขึ้น และแทนที่จะเคี้ยวมันฝรั่งทอดให้เคี้ยวหมากฝรั่งจะดีต่อสุขภาพและทำให้คิดงานออกง่ายกว่า

ริ้วรอยบนใบหน้า

ริ้วรอยที่เกิดขึ้นในวัย 30+ เกิดได้จากหลายสิ่ง ทั้งมลภาวะ การดูแลใบหน้า หรือแม้แต่การทำงานหนักจนเกินไป เพราะเมื่อเราทำงานแล้วเราขมวดคิ้ว ก็สามารถทำให้เกิเริ้วรอยบนใบหน้าได้เช่นกัน หรือความเครียดจากการทำงานก็ทำให้เกิดปัญหาเรื่องผิวพรรณตามมาเช่นเดียวกัน

  • การป้องกัน

วิธีป้องกันริ้วรอยบนใบหน้าของคนวัย 30+ หากไม่อยากเสียเงินจำนวนมากในการเข้าคลินิคเสริมความงาม ก็ต้องเริ่มจากการดูแลผิวพรรณตัวเองด้วย เรสเวอราทรอล (Resveratrol) สกัดจากเปลือกองุ่น และเซราไมด์สกัดจากจมูกข้าวญี่ปุ่น (Rice Ceramide) ที่เปรียบเสมือนป้อมปราการผิว มีส่วนช่วยทำให้ผิวหน้ากลับมาอิ่มฟู ชุ่มชื้น เรียบเนียน และสุขภาพดียิ่งขึ้น 

โรคเครียดส่งผลต่อสุขภาพจิต

โรคเครียดของคนวัยทำงานส่งผลทั้งสุขภาพร่างกายและสุขภาพจิตใจ เพราะในสภาพแวดล้อมการแข่งขันในปัจจุบันที่มีระดับความเครียดในที่ทำงานเพิ่มขึ้น พนักงานมีความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพจิตมากขึ้น ด้วยเหตุนี้จึงต้องดูแลปัญหาสุขภาพจิตอย่างเหมาะสม  

สำหรับผลกระทบทางด้านร่างกาย ความเครียดจะทำให้เกิดสมองล้า สมองตื้น คิดงานไม่ค่อยออกทำให้ส่งผลถึงงานที่ทำอยู่ด้วย

  • การป้องกัน

การรับมือกับปัญหาสุขภาพจิตได้โดยพักสมอง หรือเข้าพบกับผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตซึ่งเป็นเรื่องหลายคนไม่กล้าทำ แต่ที่จริงแล้วการพบผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตเป็นเรื่องที่ปกติมาก เหมือนกับทางเราป่วยทางร่างกายเราก็ไปหาหมอ แต่ถ้าเราป่วยทางสุขจิตเราก็ต้องหาจิตแพทย์เช่นกัน

และหากรู้สึกความเครียดทำให้สมองล้า สมองตื้อ วิธีการดูแลบำรุงสมอง คือการทานแซลมอนออยล์  หรือน้ำมันปลาแซลมอน จากนอร์เวย์ (Salmon Oil) ที่มี DHA, EPA และ DPA ซึ่ง DPA จะพบได้จากแซลมอนออยล์เท่านั้น โดยทั้ง 3 สารสำคัญดังกล่าว จะช่วยให้การคงระดับ Omega ในเลือดได้นานกว่า Fish Oil ทั่วไป ที่มีเพียง DHA และ EPA นอกจากนี้การทานแซลมอนออยล์ (Salmon Oil) เป็นประจำทุกวัน ร่างกายจะได้รับ Omega 3, 5, 6, 7, 9, 11 และแอสต้าแซนทีน (Astaxanthin) โดยมีงานวิจัยสนับสนุนถึงเรื่องบำรุงสมองและระบบหลอดเลือดหัวใจอีกด้วย

ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายลดลง

เมื่ออายุเริ่มเพิ่มมากขึ้นสิ่งที่ลดลงก็คือ “ระบบภูมิคุ้มกัน” แล้วยิ่งถ้าเป็นคนที่ทำงานหนัก ไม่มีเวลาพักผ่อนก็จะยิ่งทำให้ระบบภูมิคุ้มกันลดลงได้ง่ายๆ ซึ่งถ้าระบบภูมิคุ้มกันของเราต่ำลง ก็จะทำให้ป่วยง่ายเหนื่อยง่าย

  • การป้องกัน

วิธีป้องกันไม่ให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายลดลงก็คือ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนต่างๆ ออกมาได้มากขึ้น ช่วยให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันได้มากขึ้น รวมถึงรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และทานอาหารเสริมวิตามินรวม 8 ชนิด ได้แก่ วิตามิน A, วิตามิน B รวม, วิตามิน C, วิตามิน E และไบโอติน เพื่อสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง

และนี่เป็นเพียงโรคไม่กี่โรคเท่านั้นที่นักงานออฟฟิศวัย 30+ มีความเสี่ยงที่จะเป็น ในทางที่ดีทุกคนควรจะตรวจสุขภาพทุกปี เพื่อเป็นการเช็คร่างกายของตัวเอง

วิธีดูแลสุขภาพของมนุษย์ออฟฟิศวัย 30+

ในวัย 30+ มีการเปลี่ยนแปลงและหน้าที่รับผิดชอบมากขึ้นในการทำงาน เลี้ยงดูครอบครัว และการหาเวลาดูแลสุขภาพตัวเอง ซึ่งนอกจากนั้นยังมีการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพที่เห็นได้ชัดเลยคือ ระบบเผาผลาญแคลอรี่ที่ช้าลง 

เราจึงอยากแนะนำวิธีดูแลสุขภาพของมนุษย์ออฟฟิศวัย 30+ ให้ทุกคนได้ลองไปทำตามกันเพื่อสุขภาพที่ดี

วิธีดูแลสุขภาพของมนุษย์ออฟฟิศวัย 30+

1. รักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม

การลดน้ำหนักในวัย 30 จะง่ายกว่าการลดน้ำหนักในวัย 40 ขึ้นไป สาเหตุหลักเป็นเพราะเมื่ออายุมากขึ้น ระบบเผาผลาญและมวลกล้ามเนื้อไร้ไขมันของคุณจะลดลง ส่งผลให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นได้ง่ายขึ้นและลดน้ำหนักได้ยากขึ้น 

2. จัดลำดับความสำคัญของการออกกำลังกาย

ถ้าสามารถจัดลำดับความสำคัญในการออกกำลังกายได้ นอกจากจะได้ร่างกายที่แข็งแรงแล้วยังทำให้มีพลังงานเพิ่มมากขึ้น นอนหลับได้ง่ายขึ้น มีความคิดสร้างสรรค์มากขึ้น (จากการนอนที่ดีขึ้น) และทำสิ่งต่างๆ ได้มากขึ้น

3. นอนหลับให้เพียงพอ

การนอนหลับเป็นสิ่งที่ดีต่อสุขภาพอย่างมาก จึงต้องแน่ใจว่านอนหลับอย่างเพียงพอทุกคืน และอย่าลืมไปพบผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพหากคุณคิดว่าคุณอาจมีปัญหาหรือความผิดปกติของการนอนหลับ เพราะ การนอนหลับไม่เพียงพอไม่เพียงส่งผลกระทบต่อร่างกายของคุณ แต่ยังส่งผลให้เกิดความเครียดที่เพิ่มขึ้นซึ่งอาจนำไปสู่การรับประทานอาหารและการเพิ่มน้ำหนัก และยังส่งผลต่อการทำงานอีกด้วย

4. ค้นหาวิธีที่ทำให้ตัวเองรู้สึกผ่อนคลาย

การพักผ่อนควรเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของทุกคน หากสามารถหาวิธีคลายความเครียดได้ชั่วขณะ ก็อาจสามารถป้องกันโรคที่เกี่ยวข้องกับความเครียดได้มากมาย

5. ตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี

อย่าคิดว่าเพียงเพราะอายุ “แค่” 30 จะยังไม่มีความเสี่ยงจากโรค เพราะไม่ว่า โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และโรคอื่นๆ บางทีได้ก่อตัวขึ้นแล้วในร่างกายคุณอย่างไม่รู้ตัว เราจึงต้องคอยตรวจเช็คสุขภาพทุกปี เพราะเมื่อถ้าตรวจเจอโรคก็สามารถเข้ารับการรักษาได้อย่างทันท่วงที

6. สร้างความสมดุลให้กับการทำงาน

ในวัย 30 เป็นช่วงที่อาชีพการงานกำลังเข้าที่เข้าทาง นอกจากนี้ยังเป็นช่วงที่คุณอาจมีครอบครัว การสร้างสมดุลระหว่างชีวิตที่บ้านและชีวิตการทำงานเป็นสิ่งสำคัญ ใช้เวลาสักครู่เพื่อนั่งลงและไตร่ตรอง สิ่งต่าง ๆ อยู่ในสมดุลหรือไม่? จำเป็นต้องทำการเปลี่ยนแปลงหรือไม่? การทำให้ถูกต้องสามารถลดความเครียดในชีวิตของคุณได้อย่างมาก

7. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์

กฎง่ายๆ สำหรับการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ คือการกินพืช ผักและผลไม้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับร่างกาย และหากรู้สึกร่างกายยังได้รับสารอาหารที่ยังไม่เพียงพอ หรือถ้ารู้สึกสมองล้า สิ่งที่สามารถช่วยได้ดีอีกอย่างหนึ่งคือ DHA, EPA และ DPA รวมถึง Omega โดยหาได้ง่ายจากการทานแซลมอนออยล์ หรือน้ำมันปลาแซลมอน (Salmon Oil) ที่จะช่วยบำรุงสมองให้กลับมาสดใสอีกครั้ง

เกร็ดน่ารู้ สำหรับมนุษย์ออฟฟิศวัย 30+

เกร็ดน่ารู้สำหรับมนุษย์ออฟฟิศวัย 30+

– เราสามารถรับกรดไขมัน Omega 3, 5, 6, 7, 9, 11 ได้จากปลาที่มีไขมันสูง สาหร่าย และอาหารจากพืชที่มีไขมันสูงหลายชนิด โดย Omega 3, 5, 6, 7, 9, 11 มีส่วนช่วยในการบำรุงร่างกายและสมอง ซึ่งเหมาะสำหรับคนวัย 30+ มากๆ

– เรสเวอราทรอล (Resveratrol) พบได้มากที่เปลือกผลขององุ่นแดง มีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพสูงมาก เมื่อเปรียบเทียบกับสารอื่นๆ เช่น วิตามิน A, วิตามิน C, วิตามิน E จากงานวิจัย พบว่า เรสเวอราทรอล มีส่วนช่วยในการปกป้องเซลล์ผิวจากภาวะ Aging Skin ที่โดนทำร้ายจากรังสี UV ได้ดีกว่าสารต้านอนุมูลอิสระอื่น เช่น สาร EGCG ในชาเขียว

– เซราไมด์สกัดจากจมูกข้าวญี่ปุ่น (Rice Ceramide) มีบทบาทสำคัญในการเป็นเกราะป้องกันให้ผิวหนัง เช่น ป้องกันการสูญเสียความชุ่มชื้น และป้องกันความเสียหายที่เกิดจากสภาวะแวดล้อม ถึงแม้ร่างกายจะผลิตเซราไมด์ได้ แต่ก็จะลดลงตามอายุที่มากขึ้น จึงต้องควรกินอาหารเสริมที่มีเซราไมด์ เพื่อผิวพรรณที่สวยงาม

– การเสริมวิตามินรวม 8 ชนิด (วิตามิน A, วิตามิน B รวม, วิตามิน C, วิตามิน E และไบโอติน) เป็นประจำทุกวัน มีส่วนช่วยให้ภูมิคุ้มกันทำงานได้เป็นไปตามปกติ 

โดยวิตามินและสารอาหารเหล่านี้มีครบใน #วิตามินซองแนวใหม่ อินโนบิก เดลี่ นิวทริเจน เอ็ม (Innobic Daily Nutrigen M) ที่มีส่วนผสมของ เรสเวอราทรอลสกัดจากเปลือกองุ่น, เซราไมด์สกัดจากจมูกข้าวญี่ปุ่น, แซลมอนออยล์ หรือน้ำมันปลาแซลมอน จากนอร์เวย์ (Salmon Oil), วิตามินรวม 8 ชนิด #SUMให้ครบใน1วัน

สรุป 

ถึงมนุษย์ออฟฟิศวัย 30+ จะยุ่งแค่ไหน สิ่งที่ละเลยไม่ได้เลยคือการดูแลสุขภาพร่างกายของตัวเอง เพราะเราอาจจะไม่รู้เลยว่าตอนนี้มีโรคอะไรบ้างกำลังก่อตัวอยู่ในร่างกายของคุณ ทางที่ดีควรตรวจสุขภาพประจำปี ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ กินอาหารที่เหมาะสม ลดความเครียดลง และเสริมด้วยวิตามิน/สารอาหารที่เหมาะสม เพื่อสุขภาพที่ดี

ขอขอบคุณข้อมูลจาก: 

https://www.pacificprime.com/blog/10-biggest-health-problems-working-office.html 

https://www.vantagefit.io/blog/office-workers-health-problems/ 

https://www.verywellhealth.com/longevity-to-dos-for-your-30s-2223717 

https://www.healthline.com/nutrition/omega-3-fish-oil-for-brain-health 

https://my.clevelandclinic.org/health/articles/10984-wrinkles 

https://www.corporatewellnessmagazine.com/article/workplace-stress-silent-killer-employee-health-productivity 

https://www.medicalnewstoday.com/articles/benefits-of-ceramide-for-skin 

https://www.webmd.com/diet/health-benefits-of-multivitamins 

– Saichol Ketsa. (2010). Resveratrol in grape. Journal of the Royal Institute of Thailand (Thailand), 35(4), 650-656.

– Bastianetto S., Protective Action of Resveratrol in Human Skin: Possible Involvement of Specific  Receptor Binding Sites. PLoS ONE 5(9): e12935. doi:10.1371/journal.pone.0012935

– R. Preston Mason, Rationale for different formulations of omega-3 fatty acids leading to

differences in residual cardiovascular risk reduction, 2022.

 https://omegaquant.com/dpa-spms-and-other-cool-things-about-omega-3s/

– Rita Mattei, Astaxanthin limits fish oil-related oxidative insult in the anterior forebrain of Wistar rats: Putative anxiolytic effects, 2011, 349-355.

Share :

Share :

บทความที่คุณอาจสนใจ

รู้หรือไม่? ไขมันในเลือดสูง ต้องคุมอาหารแบบไหน?

ปัจจุบันคนไทยหันมาใส่ใจสุขภาพกันมากขึ้น หลายคนพยายามเลี่ยงอาหารจังก์ฟู้ดที่มีไขมันสูง  ซึ่งหากรับประทานบ่อยๆ จะทำให้มี  “คอเลสเตอรอลในเลือดสูง” ตามมา

Read More »
วัยเก๋าต้องระวัง! ความเสี่ยงของการเป็นโรคอัลไซเมอร์ มีอาการแบบไหนบ้าง?

หากผู้สูงอายุที่บ้านของคุณ มีพฤติกรรมและอารมณ์ที่เปลี่ยนไป มีอาการหลงลืม สับสนเรื่องเวลา สถานที่ ไม่สามารถรับรู้หรือเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ

Read More »
มาดูกันว่า ไขมันดี (HDL) กับ ไขมันเลว (LDL) ต่างกันยังไง?

หลายคนอาจสับสนว่า คอเลสเตอรอล ที่เราคุ้นเคย เป็นไขมันประเภทไหน? แล้วไขมันชนิดดี (HDL)

Read More »