ไขมันในเลือดสูง ต้องคุมอาหารแบบไหน?

รู้หรือไม่? ไขมันในเลือดสูง ต้องคุมอาหารแบบไหน?

ปัจจุบันคนไทยหันมาใส่ใจสุขภาพกันมากขึ้น หลายคนพยายามเลี่ยงอาหารจังก์ฟู้ดที่มีไขมันสูง  ซึ่งหากรับประทานบ่อยๆ จะทำให้มี  “คอเลสเตอรอลในเลือดสูง” ตามมา และอาจเป็นบ่อเกิดของโรคต่างๆ โดยเฉพาะโรคที่เกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจและหลอดเลือดสมอง ภาวะไขมันในเลือดสูง คืออะไร? คือ ภาวะที่ร่างกายมีระดับไขมันในเลือดสูงกว่าเกณฑ์ปกติ โดยอาจมีความผิดปกติทั้งไขมัน “คอเลสเตอรอล” และ “ไตรกลีเซอไรด์” ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด เส้นเลือดตีบ อุดตัน โรคหลอดเลือดสมอง หรือเลือดไหลเวียนไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ได้ไม่มีดีพอ รวมถึงความดันโลหิตสูงได้ ชนิดของไขมันในเลือด 1.คอเลสเตอรอล  (Cholesterol) เป็นไขมันชนิดหนึ่งที่ร่างกายสามารถสังเคราะห์ได้เองจากตับและลำไส้ พบมากในไขมันจากสัตว์ คอเลสเตอรอลเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของเซลล์ต่างๆ ในร่างกาย แต่หากมีมากเกินไปก็ส่งผลเสียได้เช่นกัน โดยคอเลสเตอรอลที่สำคัญ มีอยู่ 2 ชนิด อ่านต่อได้ที่บทความ ไขมันดี (HDL) กับ ไขมันเลว (LDL) ต่างกันยังไง?  2.ไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) เป็นไขมันชนิดหนึ่ง เกิดจากน้ำตาลและแป้ง หรือจากอาหารอื่นๆ ที่ช่วยทำให้รู้สึกอิ่มท้องนาน  ร่างกายจะเก็บสะสมไตรกลีเซอร์ไรด์ไว้เป็นพลังงาน แต่หากมีไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือดสูง โอกาสเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบก็มีมากขึ้น ไตรกลีเซอร์ไรด์ในระดับปกติ ไม่ควรเกิน […]

วัยเก๋าต้องระวัง! ความเสี่ยงของการเป็นโรคอัลไซเมอร์ มีอาการแบบไหนบ้าง?

วัยเก๋าต้องระวัง! ความเสี่ยงของการเป็นโรคอัลไซเมอร์ มีอาการแบบไหนบ้าง?

หากผู้สูงอายุที่บ้านของคุณ มีพฤติกรรมและอารมณ์ที่เปลี่ยนไป มีอาการหลงลืม สับสนเรื่องเวลา สถานที่ ไม่สามารถรับรู้หรือเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ และใช้ภาษาผิดปกติ พฤติกรรมเหล่านี้ อาจเป็นสัญญาณเตือนที่สำคัญให้ระวังการเป็นโรคอัลไซเมอร์ โดยข้อแตกต่างสำคัญระหว่างผู้ที่มีอาการขี้ลืมหรือหลงลืมตามวัย กับการเริ่มเข้าสู่กลุ่มเสี่ยงเป็นโรคอัลไซเมอร์ มีข้อสังเกตที่ต้องใช้ความใส่ใจและวิเคราะห์อย่างใกล้ชิด โรคอัลไซเมอร์ คืออะไร? โรคอัลไซเมอร์ พบเป็นสาเหตุหลักของภาวะสมองเสื่อม มีอาการสูญเสียความทรงจำแบบค่อยเป็นค่อยไปมากขึ้นตามลำดับ สัญญาณเริ่มแรก คือ การลืมเหตุการณ์ ลืมการสนทนาหรือกิจวัตรประจำวัน หลังจากนั้นผู้ป่วยอาจสูญเสีย การตัดสินใจ การวางแผน และการช่วยเหลือตนเอง ปัจจุบันมีวิทยาการในการตรวจวินิจฉัยได้อย่างรวดเร็วแม่นยำ และมีการรักษาด้วยยาและการปรับพฤติกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบสมอง อย่างไรก็ดีโดยในระยะท้ายของโรค ผู้ป่วยจะสูญเสียความสามารถในการทำงานของสมองเป็นอย่างมากจำเป็นต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด และอาจเกิดการเสียชีวิตจากภาวะแทรกซ้อนได้ อาการของโรคอัลไซเมอร์ อาการของโรคอัลไซเมอร์จะดำเนินไปเรื่อยๆ กินเวลาหลายปี โดยจะแสดงอาการตามระยะเสื่อมของสมอง 3 ระยะ ดังนี้ อาการระยะแรก อาการระยะแรกของผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ เริ่มด้วยความขี้หลงขี้ลืม ลืมเรื่องที่เพิ่งพูดไปหรือลืมเรื่องราวที่เพิ่งเกิดขึ้น ย้ำคิดย้ำทำ และถามคำถามเดิมๆ ซ้ำๆ ลังเล ไม่สามารถตัดสินใจเรื่องง่ายๆ ได้ รวมถึงมีความวิตกกังวลมากขึ้น ตื่นตกใจง่าย อาจมีอารมณ์เปลี่ยนแปลง อาการระยะปานกลาง หากผู้ป่วยละเลยอาการเริ่มต้น คิดว่าเป็นเพียงความขี้ลืมปกติ ปัญหาความจำอาจแย่ลงจนไม่สามารถจำชื่อคนรู้จัก หรือไม่สามารถลำดับเครือญาติคนใกล้ชิดได้ว่าใครเป็นใคร […]

ไขมันดี (HDL) กับ ไขมันเลว (LDL) ต่างกันยังไง?

มาดูกันว่า ไขมันดี (HDL) กับ ไขมันเลว (LDL) ต่างกันยังไง?

หลายคนอาจสับสนว่า คอเลสเตอรอล ที่เราคุ้นเคย เป็นไขมันประเภทไหน? แล้วไขมันชนิดดี (HDL) กับไขมันชนิดไม่ดี (LDL) นั้นมีความแตกต่างกันอย่างไร   คอเลสเตอรอล คืออะไร? คอเลสเตอรอลเป็นไขมันชนิดหนึ่งที่จำเป็นต่อร่างกาย มีลักษณะคล้ายขี้ผึ้ง โดยปกติแล้วร่างกายสามารถสร้างคอเลสเตอรอลขึ้นได้เองจากตับ แต่คอเลสเตอรอลที่เกินความจำเป็นต่อร่างกายมักมาจากอาหารที่รับประทานเข้าไป ไม่ว่าจะจากเนื้อสัตว์ติดมัน ไข่แดง นม หรือผลิตภัณฑ์จากนม ซึ่งการที่เรามีคอเลสเตอรอลสูงจะเป็นปัจจัยสำคัญอันนำไปสู่การเกิด“โรคหัวใจและหลอดเลือด”ได้ ประเภทของคอเลสเตอรอล การที่คอเลสเตอรอลจะให้ผลดีหรือส่งผลเสียต่อร่างกายนั้น ต้องขึ้นอยู่กับประเภทของไขมันด้วย โดยคอเลสเตอรอลแบ่งได้เป็น 2 ประเภทหลัก คือ 1. ไขมันดี หรือ High-density Lipoprotein (HDL) “ไขมันดี” มีส่วนช่วยลำเลียงคอเลสเตอรอล และไตรกลีเซอไรด์ออกจากหลอดเลือดแดง และเนื้อเยื่อไปยังตับเพื่อขับออก ทำให้ร่างกายมีระดับคอเลสเตอรอลโดยรวมลดลง จึงช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคทางหลอดเลือดได้ ทั้งยังมีส่วนในการยับยั้งการเกิดออกซิเดชัน การอักเสบ และการแข็งตัวของเลือด ที่เป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจและหลอดเลือดสมอง แหล่งอาหารไขมันดี – ปลาทะเลน้ำลึก เช่น ปลาแซลมอน ปลาเทราต์ ปลาซาร์ดีน ปลาแมคเคอเรล และปลาทูน่า – อโวคาโด – […]

4 โรคตา ที่มนุษย์ออฟฟิศวัย 30+ และ 50+ อย่ามองข้าม!

4 โรคตา ที่มนุษย์ออฟฟิศวัย 30+ และ 50+ อย่ามองข้าม! (บอกเคล็ดลับดูแลสุขภาพดวงตา)

ชีวิตมนุษย์ออฟฟิศวัย 30+ และ 50+ ส่วนใหญ่ใช้คอมพิวเตอร์ในการทำงาน ทำให้ดวงตามีการใช้งานอย่างหนัก เพราะต้องจับจ้องอยู่หน้าคอมพิวเตอร์ตลอดเวลา  ซึ่งโรคที่จะตามมา หากใช้สายตาไปกับจอมือถือ และเครื่องมืออิเล็คทรอนิกส์นานเกินไป มีดังนี้ 1. โรคซีวีเอส หรือ โรคคอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม (Computer Vision Syndrome) เป็นอาการที่มักจะเกิดกับคนที่ทำงานอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ติดต่อกันเป็นเวลานานเกินสองชั่วโมงขึ้นไป ก็จะเริ่มมีอาการปวดตา แสบตา ตามัวและบ่อยครั้งมักจะมีอาการปวดหัวร่วมด้วย พบได้ถึงร้อยละ 75 ของบุคคลที่ใช้คอมพิวเตอร์ สาเหตุ โดยปกติแล้วเราทุกคนมักจะต้องกระพริบตาอยู่สม่ำเสมอเป็นการเกลี่ยน้ำตาให้ดวงตาของเราไม่แห้ง หากเราใช้สายตาในการจ้องมองคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน มักจะไม่ค่อยกระพริบตา จึงทำให้มีอาการแสบตา ตาแห้ง รู้สึกฝืดๆ ในตา 2. โรคจอประสาทตาเสื่อม เป็นโรคที่มีความผิดปกติ เกิดขึ้นในบริเวณจุดศูนย์กลางรับภาพของจอประสาทตา มักจะพบได้มากในผู้สูงอายุ ตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป จึงเรียกว่า Ageralsted macular degeneration (AMD) ในผู้ป่วยบางราย จะมีอาการเกิดขึ้นอย่างช้าๆ จึงทำให้ผู้ป่วยไม่ทันได้สังเกตเห็น และบางรายมีอาการขึ้นเกิดอย่างรวดเร็ว ทำให้สูญเสียการมองเห็นโดยเฉพาะภาพตรงกลาง แต่ยังสามารถมองเห็นทางด้านขอบข้างของภาพได้อยู่ ดังนั้นผู้ที่เป็นโรคจอประสาทตาเสื่อมนี้ยังคงสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ แต่อาจจะทำกิจกรรมบางอย่างไม่ได้ เช่น […]

วัยเก๋า 50+ ต้องฟัง! งานวิจัยใหม่เผยว่า แคลเซียม วิตามิน D3 ควรทานร่วมกับวิตามิน K2 ช่วยบำรุงกระดูกได้ดีขึ้น

วัยเก๋า 50+ ต้องฟัง! งานวิจัยใหม่เผยว่า แคลเซียม วิตามิน D3 ควรทานร่วมกับวิตามิน K2 ช่วยบำรุงกระดูกได้ดีขึ้น!

การกินแคลเซียมร่วมกับวิตามิน D3 และวิตามิน K2 มีประโยชน์ต่อสุขภาพกระดูกเป็นอย่างมาก โดยแคลเซียมเป็นสารอาหารที่จำเป็นในการสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง วิตามิน D3 ช่วยเพิ่มการดูดซึมแคลเซียมเข้าสู่ร่างกาย และวิตามิน K2 ช่วยให้แคลเซียมถูกนำไปสะสมในกระดูกแทนที่จะไปสะสมในหลอดเลือด ทำความรู้จัก “แคลเซียม” มากขึ้น แคลเซียม (Calcium) คือ แร่ธาตุที่พบมากที่สุดในร่างกายมนุษย์ โดยประมาณ 99% ของแคลเซียมในร่างกายจะอยู่ในกระดูกและฟัน ส่วนอีก 1% จะอยู่นอกกระดูกและฟัน เช่น ในเลือด น้ำเหลือง และเนื้อเยื่อต่างๆ หน้าที่สำคัญของ แคลเซียม – สร้างกระดูกและฟันที่แข็งแรง – ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อและระบบประสาท – ช่วยให้เลือดแข็งตัว – ควบคุมการทำงานของเซลล์ แหล่งอาหารของแคลเซียมที่สำคัญ  – นม และผลิตภัณฑ์จากนม – ปลาเล็กปลาน้อย – ถั่วเหลือง – ถั่วเขียว – งาดำ – ผักใบเขียว ซึ่งหากร่างกายขาดแคลเซียม อาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพต่างๆ […]

“สิว” เรื่องไม่สิวของวัย 20+ สิวแต่ละประเภทเกิดจากอะไรกันนะ?

“สิว” เรื่องไม่สิวของวัย 20+ สิวแต่ละประเภทเกิดจากอะไร (พร้อมบอกวิธีการป้องกันและรักษาที่ถูกต้อง)

ผู้ชายและผู้หญิง วัย 20+ ส่วนใหญ่มักจะเจอปัญหาการเป็น “สิว” โดยสิวนั้นมีหลายประเภทและมีสาเหตุที่ทำให้เกิดแตกต่างกันออกไป ในบทความนี้เราจะมาบอกถึงประเภทของสิวว่าแต่ละประเภทนั้นเกิดจากอะไร พร้อมบอกวิธีการป้องกันการเป็นสิวและรักษาสิวที่ถูกต้อง ประเภทของสิว สิวสามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิดหลัก ๆ ได้แก่ สิวไม่อักเสบ (Noninflammatory acne) คือ สิวที่เกิดจากการอุดตันของรูขุมขน ได้แก่ สิวหัวดำและสิวหัวขาว โดยปกติแล้วสิวประเภทนี้จะไม่ทำให้เกิดอาการบวม – สิวหัวดำ (Blackheads) สิวหัวดำ มีลักษณะเป็นตุ่มนูนสีดำเล็กๆ มักจะพบบริเวณทีโซน คือ หน้าผาก จมูก และคาง เกิดจากรูขุมขนอุดตันจากความมันและเซลล์ผิวที่ตายแล้ว และน้ำมันที่อยู่บนผิวหน้าของเราทำปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศ จึงทำให้หัวสิวกลายเป็นสีดำ – สิวหัวขาว (Whiteheads) สิวหัวขาว มีลักษณะเป็นตุ่มนูนขนาดเล็กอยู่ใต้ผิวหนัง เกิดจากการอุดตันของน้ำมันและเซลล์ผิวที่ตายแล้วในต่อมไขมันและรูขุมขน เมื่อปล่อยทิ้งไว้จะกลายเป็นสิวอักเสบ ซึ่งสิวหัวขาวจะรักษาได้ยากกว่าสิวหัวดำ เพราะรูขุมขนปิดอยู่แล้ว สิวอักเสบ (Inflammatory acne) คือ สิวที่มีสีแดงและบวม แม้ว่าความมันและเซลล์ผิวที่ตายแล้วจะทำให้เกิดสิวอักเสบ แต่แบคทีเรียก็สามารถมีบทบาทในการอุดตันรูขุมขนได้เช่นกัน แบคทีเรียสามารถทำให้เกิดการติดเชื้อที่อยู่ลึกลงไปใต้ผิวหนังได้ ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดรอยสิวที่เจ็บปวดจนยากจะกำจัดได้ – สิวที่มีตุ่มนูนแดง […]

โพรไบโอติกส์ จุลินทรีย์ดีตัวช่วยระบบทางเดินอาหารและลำไส้ที่ทุกคนให้การยอมรับ

โพรไบโอติกส์ จุลินทรีย์ดีตัวช่วยระบบทางเดินอาหารและลำไส้ที่ทุกคนให้การยอมรับ

สุขภาพระบบทางเดินอาหารมีความสำคัญต่อสุขภาพร่างกายของเราอย่างมาก ถ้าระบบทางเดินอาหารแข็งแรง ก็จะสามารถช่วยป้องกันเราจากอาการอักเสบและโรคร้ายต่างๆได้ แล้วเราควรดูแลระบบทางเดินอาหารยังไง? บทความนี้มีคำตอบ โพรไบโอติกส์แบคทีเรียที่ดีต่อร่างกาย โพรไบโอติกส์ (Probiotics) คือกลุ่มแบคทีเรียหรือยีสต์ที่อยู่ในระบบทางเดินอาหาร และระบบอื่นๆ ของร่างกาย ที่เมื่อมีอยู่ในประมาณที่เหมาะสมจะช่วยในการทำงานของระบบทางเดินอาหารและระบบอื่นๆ ของร่างกายเนื่องจากจุลินทรีย์ที่เป็นมิตรเหล่านี้มีส่วนช่วยในการดูดซึมสารอาหาร การป้องกันโรค และการรักษาภาวะที่ผิดปกติของร่างกาย ประเภทของโพรไบโอติกส์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญแบ่งประเภทของโพรไบโอติกส์ออกเป็น 3 ลักษณะ 1.  แล็กโทบาซิลลัส  (Lactobacillus)  เป็นแบคทีเรียจุลินทรีย์ชนิดดีในกลุ่มของโพรไบโอติกส์ที่พบได้มากที่สุด สามารถพบได้ในอาหารธรรมชาติ เช่น โยเกิร์ต นมเปรี้ยว อาหารหมักดองบางชนิด ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อระบบขับถ่าย และเหมาะกับผู้ที่มีปัญหาไม่สามารถย่อยแลคโตสในนมได้ 2.  บิฟิโดแบคทีเรียม (Bifidobacterium)   หนึ่งในจุลินทรีย์โพรไบโอติกส์ที่ได้รับการยอมรับว่าดีที่สุด พบได้ในอาหารที่ทำมาจากนม ช่วยในการบรรเทาอาการลำไส้แปรปรวน และมีการศึกษาในหลายชนิดว่ามีประโยชน์ต่อร่างกายที่แตกต่างกันออกไป เช่น ช่วยผลิตสารตั้งต้นของภูมิต้านทานในร่างกายได้   3.  บาซิลลัส (Bacillus)  เป็นตัวโพรไบโอติกหรือจุลินทรีย์เชื้อดี พบได้ในอาหารจำพวกของหมักดอง เช่น ถั่วเน่า หรือ นัตโตะ มีส่วนในการปรับสมดุลร่างกาย และช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันให้ดียิ่งขึ้น โพรไบโอติกส์ทำงานอย่างไร?  งานหลักของโพรไบโอติกส์ คือการรักษาสมดุลในร่างกาย สมมุติว่าร่างกายได้รับแบคทีเรียที่ไม่ดีเข้ามาและเพิ่มจำนวนมากขึ้นก็จะทำให้ร่างกายของเราเสียสมดุล จึงเป็นหน้าที่ของโพรไบโอติกส์ […]

มนุษย์ออฟฟิศวัย 30+ ต้องรู้ โรคที่เสี่ยงต่อสุขภาพในอนาคต!

มนุษย์ออฟฟิศวัย 30+ ต้องรู้ โรคที่เสี่ยงต่อสุขภาพในอนาคต!

หากคุณเป็นคนวัย 30 ปีขึ้นไปที่ทำงานในออฟฟิศตลอดวัน อาจมีความเสี่ยงที่จะทำให้ดูแลสุขภาพของตัวเองไม่ดีพอ อย่างไรก็ตาม การรู้จักและเข้าใจเรื่องของโรคที่เสี่ยงต่อสุขภาพในอนาคตสามารถช่วยให้คุณเตรียมตัวและดูแลสุขภาพของตัวเองอย่างเหมาะสมขึ้น ดังนั้นในบทความนี้ เราจะพูดถึงบางโรคที่เสี่ยงต่อคุณในอนาคตและวิธีดูแลสุขภาพของคุณเองได้อย่างดีที่สุด ความเสี่ยงด้านสุขภาพที่คนวัย 30+ ควรระวัง ในช่วงอายุที่มากกว่า 30 มักจะต้องมีหน้าที่การงานที่ยุ่งวุ่นวายและครอบครัวที่กำลังเติบโต ทำให้หลายๆ คนในวัยนี้ไม่ค่อยมีเวลาตัวเอง และหากใช้ชีวิตในวัย 20 ปีด้วยการไปพบแพทย์เพียงไม่กี่ครั้งและไม่ได้ใส่ใจเกี่ยวกับอาหารการกิน จึงอาจมีความเสี่ยงในด้านสุขภาพเหล่านี้ได้ ปวดตา เนื่องจากการทำงานในปัจจุบันต้องทำงานหน้าโต๊ะ จ้องหน้าจอทั้งวัน ทำให้คนส่วนใหญ่เกิดอาการปวดตา โดยอาการปวดตามักเกี่ยวข้องกับอาการตาแห้ง และรู้สึกเจ็บตาเมื่อต้องจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน วิธีแก้อาการปวดตา เมื่อใช้งานคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ ให้เพิ่มขนาดตัวอักษรเพื่อที่จะได้ไม่ต้องหรี่ตา จัดโต๊ะให้มีแสงสว่างที่เหมาะสม และควรพักสายตาบ่อยๆ เพื่อลดอาการปวดตา  ปวดหลังส่วนล่าง การนั่งเก้าอี้ด้วยท่าที่ไม่ถูกต้องเป็นเวลานานๆ อย่างการนั่งงอตัวโดยที่ไม่รู้ตัว ทำให้สร้างแรงกดไปที่บริเวณสะโพกและหลังอย่างมาก ส่งผลให้เกิดอาการปวดหลังส่วนล่าง อย่างแรกคือการปรับท่านั่งของตัวเองให้ถูกโดยการนั่งให้เต็มก้นและนั่งหลังตรง ซึ่งสิ่งสำคัญต่อมาคือการลุกยืนบ่อยๆ  เพื่อเพิ่มการไหลเวียนของเลือดและบริหารกล้ามเนื้อตั้งแต่เท้าถึงลำตัว โรคอ้วน ปัญหาสุขภาพที่เห็นได้ชัดอีกโรคหนึ่งคือ “โรคอ้วน” โดยสาเหตุของโรคอ้วน ในที่ทำงานเกิดจากปัญหาการกินที่ไม่ดี การขาดการออกกำลังกาย ความเครียด หรือการใช้ชีวิตแบบนั่งนิ่งๆ เป็นต้น รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย โดยเชี่ยวชาญด้านสุขภาพกล่าวว่าวิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันไม่ให้รอบเอวของคุณขยายใหญ่ขึ้นคือการรับประทานอาหารมื้อเล็กๆ ให้บ่อยขึ้น และแทนที่จะเคี้ยวมันฝรั่งทอดให้เคี้ยวหมากฝรั่งจะดีต่อสุขภาพและทำให้คิดงานออกง่ายกว่า ริ้วรอยบนใบหน้า ริ้วรอยที่เกิดขึ้นในวัย […]